เมนู

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
จบ เสยยสูตรที่ 5

อรรถกถาเสยยสูตรที่ 5


คำที่จะพึงกล่าวในเสยยสูตรที่ 5 เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน
ขันธิยวรรคนั่นแล.
จบ อรรถกถาเสยยสูตรที่ 5
จบ โยคักเขมีวรรคที่ 1


6. สังโยชนสูตร1


ว่าด้วยเหตุแห่งสังโยชน์


[ 159 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง
สังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์
ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์
และสังโยชน์.
จบ สังโยชนสูตรที่ 6
1. ตั้งแต่สูตรที่ 6-10 ไม่มีอรรถกถาแก้.

7. อุปาทานสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งอุปาทาน


[ 160 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง
อุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงพึง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทาน
และอุปาทานเป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ
จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นอุปาทาน
ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทาน
และอุปาทาน.
จบ อุปาทานสูตรที่ 7

8. ปฐมอปริชานสูตร


ว่าด้วยผู้ไม่รู้ไม่สิ้นทุกข์ผู้รู้ย่อมสิ้นทุกข์


[161] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละจักษุ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละใจ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่งกำหนดรู้
หน่าย ละจักษุ ย่อมควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละใจ
ย่อมควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย
ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ